ความหมายของเกษตรอินทรีย์
มีหลายคน หลายองค์กรที่ได้ให้คำนิยาม หรือความหมายของเกษตรอินทรีย์เช่น องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ
ได้ให้ความหมายของเกษตรอินทรีย์ว่า “เป็นระบบเกษตรที่
ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช วัชพืช
หรือในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ตลอดจนไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปรับปรุงบำรุงดิน
แต่ให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและ มาตรฐานทางชีวภาพ
โดยใช้ซากพืช ปุ๋ยพืชสด หรือมูลสัตว์ในการปรับปรุง
นอกเหนือจากนี้ยังห้ามใช้พืชหรือ เมล็ดพันธุ์ที่มีการตัดต่อยีน
และห้ามใช้จุลลินทรีย์ที่มีการตัดต่อยีนในกระบวนการหมักปุ๋ยชีวภาพ”
กรมวิชาการ ได้ให้ความหมายเกษตรอินทรีย์หมายถึง “ระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษา สมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายของทางชีวภาพ โดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับ ธรรมชาติและหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะปุ๋ยเคมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่าง ๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจเกิดมลพิษในสภาพแวดล้อม เน้นการใช้ อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อให้ ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและไม่ทำให้ สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย”
สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติได้ให้ความหมายเกษตรอินทรีย์ไว้ว่า “ระบบเกษตรที่ผลิตอาหารและ เส้นใยด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและทางเศรษฐกิจ โดยเน้นที่หลักการปรับปรุงบำรุงดิน เคารพต่อ ศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์จึงลดการใช้ปัจจัยการผลิตจาก ภายนอก และหลีกเลี่ยงจากการใช้สารเคมีสังเคราะห์เช่น ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์แต่ ในขณะเดียวกันก็พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและ สัตว์เลี้ยง หลักการเกษตรอินทรีย์เป็นหลักการสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศและ วัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วย”
กรมวิชาการ ได้ให้ความหมายเกษตรอินทรีย์หมายถึง “ระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษา สมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายของทางชีวภาพ โดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับ ธรรมชาติและหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะปุ๋ยเคมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่าง ๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจเกิดมลพิษในสภาพแวดล้อม เน้นการใช้ อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อให้ ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและไม่ทำให้ สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย”
สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติได้ให้ความหมายเกษตรอินทรีย์ไว้ว่า “ระบบเกษตรที่ผลิตอาหารและ เส้นใยด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและทางเศรษฐกิจ โดยเน้นที่หลักการปรับปรุงบำรุงดิน เคารพต่อ ศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์จึงลดการใช้ปัจจัยการผลิตจาก ภายนอก และหลีกเลี่ยงจากการใช้สารเคมีสังเคราะห์เช่น ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์แต่ ในขณะเดียวกันก็พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและ สัตว์เลี้ยง หลักการเกษตรอินทรีย์เป็นหลักการสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศและ วัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วย”
ความสำคัญของเกษตรอินทรีย์
การใช้ทรัพยากรดินโดยไม่คำนึงถึงผลเสียของปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในแร่ธาตุและ
กายภาพของดิน ทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในดินนั้นสูญหายและไร้สมรรถภาพ
ความไม่สมดุลนี้เป็นอันตราย ยิ่งกระบวนการนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง
ผืนดินที่ถูกผลาญไปนั้นได้สูญเสีย ความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุ
ทำให้ผลผลิตมีแร่ธาตุวิตามินและพลังชีวิตต่ำ เป็นผลให้เกิดการขาดแคลน ธาตุอาหารรองในพืช
พืชจะอ่อนแอขาดภูมิต้านทานโรคและทำให้การคุกคามของแมลงและเชื้อโรคเกิดขึ้น ได้ง่าย
ซึ่งจะนำไปสู่การใช้สารเคมีฆ่าแมลงและเชื้อราเพิ่มขึ้นดินที่เสื่อมคุณภาพนั้น
จะเร่งการเจริญเติบโตของ วัชพืชให้แข่งกับพืชเกษตรและนำไปสู่การใช้สารเคมีสังเคราะห์กำจัดวัชพืชข้อบกพร่องเช่นนี้ก่อให้เกิดวิกฤติใน
ห่วงโซ่อาหารและระบบการเกษตรของเราซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งในโลกปัจจุบัน
ประเทศไทยนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรเป็นเงินปีละหลายหมื่นล้านบาทเกษตรกรต้องซื้อปัจจัย
การผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ในการเพาะปลูกทำให้การลงทุนสูงและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะที่ราคา
ผลผลิตในรอบยี่สิบปีไม่ได้สูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้นนั้นมีผลทำให้เกษตรกรขาดทุนมีหนี้สินล้นพ้นตัว
เกษตรอินทรีย์จะเป็นหนทางของการแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ดังนี้
1. ให้ปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ดีกว่า
2. ให้อาหารปลอดสารพิษสำหรับชีวิตที่ดีกว่า
3. ให้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำเพื่อเศรษฐกิจที่ดีกว่า
4. ให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีกว่า
5. ให้ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ดีกว่า
6. ให้สิ่งแวดลอมที่ดีกว่า
1. ให้ปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ดีกว่า
2. ให้อาหารปลอดสารพิษสำหรับชีวิตที่ดีกว่า
3. ให้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำเพื่อเศรษฐกิจที่ดีกว่า
4. ให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีกว่า
5. ให้ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ดีกว่า
6. ให้สิ่งแวดลอมที่ดีกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น