วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ปัญหาการเกษตร



ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพหรือดำรงอยู่ได้โดยมีความ เกี่ยวพันกับการเกษตร ในอดีตเกษตรกรไทยทำการผลิตแบบดั้งเดิมที่อาศัยภูมิปัญญาพื้นบ้านและเชื่อมโยงกับ ทรัพยากรธรรมชาติต่อมาการพัฒนาประเทศไทยตามแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในช่วงกว่า 40 ปีที่ผ่านมา มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อการตลาดและการส่งออก เกษตรกรไทยเกิดการ ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตจากรูปแบบเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมซึ่งมีการพึ่งพาธรรมชาติในการทำการเกษตรแบบผสมผสานกลายเป็นการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวที่ต้องพึ่งปัจจัยภายนอก เช่นปุ๋ยเคมี สารเคมีเป็นต้น 


          การทำการเกษตรในระบบเกษตรเคมีเชิงเดี่ยว ทั้งในช่วงที่ผ่านมาและปัจจุบัน ได้ทำให้เกิดผลดีบาง ประการ โดยเฉพาะการมีอาหารบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอ แต่เนื่องจากกระบวนการผลิตทางการเกษตร ดังกล่าวนั้น 

          1. เน้นการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ชนิดเดียว และใช้พื้นที่เป็นบริเวณกว้าง
          2. เน้นการพึ่งพิงปัจจัยการผลิตภายนอกไร่นาและชุมชน ด้วยการใช้พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ลูกผสม ปุ๋ยเคมี สารเคมีสังเคราะห์อย่างเข้มข้น
          3. เน้นการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักร อุปกรณ์ชั้นสูงที่ทันสมัย 4. เน้นการพึ่งพาองค์ความรู้และข้อมูลจากภายนอกมาก และไม่ให้ความสำคัญของภูมิปัญญาและ ท้องถิ่น
          4. เน้นการผลิตเพื่อขาย ส่งออก และพึ่งตลาดต่างประเทศที่เป็นตลาดแนวดิ่ง ที่มีพ่อค้าคนกลางเป็น ผู้กำหนดสินค้า ราคา จุดจำหน่าย การประชาสัมพันธ์ ได้ทำให้เกิดปัญหาต่อทั้งเกษตรกร ผู้บริโภค ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลายประการ เช่น
                  
1) การเป็นหนี้ของเกษตรกร เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยการผลิตดังกล่าวข้างต้น การกู้เงินเพื่อมาลงทุน จึงเกิดขึ้นด้วยดอกเบี้ยกู้ที่สูงแต่ระบบตลาดที่ไม่เป็นธรรม ราคาผลผลิตตกต่ำ ทำให้เกษตรกรขาดทุนเป็นหนี้ และมีหนี้พอกพูนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
                   2) การสูญเสียที่ดิน เกษตรกรจำนวนมากที่ขาดทุนจากการทำการเกษตร แต่ต้องใช้หนี้คืนแหล่ง ทุน การขายที่ดินทำกินเพื่อใช้หนี้จึงเกิดขึ้น
                   3) สุขภาพทรุดโทรม อันเนื่องมาจากการทำงานหนัก การใช้สารเคมีสังเคราะห์การบริโภคอาหาร ที่ปนเปื้อนสารเคมีและความเครียด
                   4) เป็นเกษตรกรแต่ไม่มีข้าวบริโภคเพราะขายหมด ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ชนิดเดียว ขาดความมั่นคง ทางด้านอาหารและสิทธิที่จะเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
                   5) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย ความหลากหลายทางชีวภาพ จุลินทรีย์ พันธุกรรมพืช สัตว์พื้นบ้านลดลง
                   6) ลดการพึ่งตนเอง แต่หันไปพึ่งคนอื่น
                   7) เกิดปัญหาของสังคมต่อเนื่องตามมาอีกมากมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น