วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การปลูกพืชเกษตรอินทรีย์และการดูแลรักษา



การปลูกพืชเกษตรอินทรีย์
การปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ควรดำเนินการเลือกพื้นที่เหมาะสม โดยอยู่ห่างโรงงาน ห่างแปลงปลูกที่ใช้ สารเคมีมีแหล่งน้ำสะอาดไม่มีสารพิษเจือปนทั้งนี้ต้องศึกษาประวัติพื้นที่ เช่น เคยปลูกพืชอะไร การใช้ปุ๋ยและ สารเคมีย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปีจากนั้นเลือกปลูกพืชให้เหมาะกับดิน โดยให้พิจารณาว่าดินมีทั้งดินร่วน ดิน เหนียว หน้าตื้น หน้าดินลึก ดินเป็นกรด ดินเป็นด่าง ดินเค็ม เป็นต้น จึงควรพิจารณาเลือกปลูกพืชที่ขึ้นอยู่เดิม และให้เก็บตัวอย่างดิน น้ำไปทำการวิเคราะห์ 




ควรมีการวางแผนจัดการได้แก่
          1) การวางแผนป้องกันสารพิษจากภายนอกทั้งทางน้ำและทางอากาศ การป้องกันทางน้ำโดยการขุดคู รอบแปลง การป้องกันทางอากาศโดยปลูกพืชกันชน เช่น ไม้ทรงสูง ไม้ทรงสูงปานกลาง ไม้ต้นเตี้ย บนคันกั้นน้ำ รอบแปลง
          2) วางแผนป้องกันภายใน โดยจัดระบบการระบายน้ำ การเก็บรักษาเครื่องมืออุปกรณ์และการเข้า ออกไร่นา
          3) วางแผนระบบการปลูกพืช ควรเลือกฤดูปลูกที่เหมาะสมใช้พันธุ์พืชที่ต้านทานโรคแมลง พืชบำรุงดิน พืชไล่แมลง
การเตรียมดิน
          1. เลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง
          2. ถ้าดินเป็นกรดจัดใส่หินปูนบดลดความเป็นกรด
         
3. ปลูกพืชตระกูลถั่วและไถกลบ ได้แก่ โสน ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ เป็นต้น
          4. ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษซากพืช เพื่อช่วยปรับโครงสร้างดิน และให้ธาตุอาหารพืช
          5. ดินขาดฟอสฟอรัสให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต
          6. ดินขาดโพแทสเซียม ให้ใช้ปุ๋ยมูลค้างคาว เกลือโพแทสเซียมธรรมชาติและขี้เถ้าถ่าน
 สารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ปรับปรุงดิน
          1. กากตะกอนโสโครก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผัก)
           2. สารเร่งการเจริญเติบโต
          3. จุลินทรีย์และผลิตผลจากจุลินทรีย์ที่ได้มากจากการตัดต่อสารพันธุกรรม
           4. สารพิษตามธรรมชาติเช่น โลหะหนักด่าง
          5. ปุ๋ยเทศบาล หรือปุ๋ยหมักจากขยะในเมือง

สารที่อนุญาตให้ใช้ปรับปรุงดิน
          1. ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากวัตถุในไร่นา เช่น - ปุ๋ยหมัก จากเศษซากพืช ฟางข้าว ขี้เลื่อย เปลือกไม้เศษไม้และวัตถุเหลือใช้ทางการเกษตร อื่น ๆ เป็นต้น - ปุ๋ยคอก จากสัตว์ที่เลี้ยงตามธรรมชาติไม่ใช้อาหารจากจีเอ็มโอ (สารตัดต่อพันธุกรรม) ไม่ใช้ สารเร่งการเจริญเติบโตและไม่มีการทรมานสัตว์ - ปุ๋ยพืชสด จากเศษซากพืชและวัตถุเหลือใช้ในไร่นาสารอินทรีย์
          2. ดินพรุ ที่ไม่เติมสารสังเคราะห์
          3. ปุ๋ยชีวภาพ หรือจุลินทรียท์ที่พบทั่วไปตามธรรมชาติ
           4. ขุยอินทรีย์สิ่งที่ขับถ่ายจากไส้เดือนและแมลง
          5. ดินอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ
          6. ดินชั้นบน (หน้าดิน) ที่ปลอดจากการใช้สารเคมีมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
          7. ผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายและสาหร่ายทะเล ที่ได้รับการรบรองอย่างเป็นทางการ
          8. ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้จากพืชและสัตว์
          9. อุจจาระและปัสสาวะที่ได้รับการหมักแล้ว (ใช้ได้กับพืชที่ไม่เป็นอาหารของมนุษย์)
          10. ของเหลวจากระบบน้ำโสโครก จากโรงงานที่ผ่านกระบวนการหมักโดยไม่เติมสารสังเคราะห์ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ
          11. ของเหลือใช้จากกระบวนการในโรงงานฆ่าสัตว์โรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานน้ำตาล โรงงาน มันสำปะหลัง โรงงานน้ำปลา โดยกระบวนการเหล่านั้นต้องไม่เติมสารสังเคราะห์และต้องได้รับ การรับรองอย่างเป็นทางการ   
          12. สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชหรือสัตว์ซึ่งได้จากธรรมชาติ
เมื่อดินมีความสมบูรณ์แล้ว ก็ดำเนินการไถพรวนและเตรียมแปลง ต้องทำการไถพรวนให้พื้นที่ในแปลง โล่งแจ้งพร้อมที่จะทำการวางรูปแบบแปลง ในการวางรูปแบบแปลงจะต้องวางไปตามตะวัน เนื่องจากพืชใช้ แสงแดดปรุงอาหารและแสงแดดฆ่าเชื้อโรค แปลงที่จะปลูกพืชผักนั้นความกว้างไม่ควรเกิน 1 เมตร ส่วนความ ยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ส่วนพื้นที่ที่ยังทำแปลงปลูกพืชไม่ทันให้เอาพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียวหรือถั่ว มะแฮะมาหว่านคลุมดินเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสด เป็นการปรับปรุงบำรุงดินไปพร้อมกับการป้องกันแมลงที่จะมาวาง ไข่ในพงหญ้าด้วย
 ทั้งนี้การยกแปลงปลูก ให้ยกแปลงเพื่อปลูกพืชผัก แต่ก่อนที่จะปลูกจะต้องมีการปรับสภาพดินในแปลง ปลูก โดยการใส่ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ที่ตากแห้งแล้ว จะใส่มากใส่น้อยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินที่จะทำแปลงปลูกพืชอินทรีย์ (ห้ามใช้มูลสัตว์สด) ทำการพรวนคลุกดินให้ทั่ว ทิ้งไว้ 7 วัน ก่อนปลูก

วิธีการปลูก แผนการจัดการศัตรูพืชก่อนปลูก
          1. กรณีใช้เมลดพันธุ์ปลูก
                   - ควรใช้เมล็ดพันธุ์ต้านทานต่อโรคแมลงและวัชพืช ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากศัตรูพืช
                   – แช่เมล็ดในน้ำอุ่น อุณหภูมิประมาณ 50-55 องศาเซลเซียส นาน 10-30 นาที (แล้วแต่ชนิด เมล็ดพันธุ์) เพื่อกำจัดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่ติดมากับเมล็ด
                   - คลุกเมล็ดด้วยจุลินทรีย์ปฏิปักษ์เช่น เชื้อไตรโคเดอร์ม่า เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส สัปทิลิส
          2. การเตรียมแปลงเพาะกล้า อบดินแปลงเพาะกล้า อบดินแปลงเพาะด้วยไอน้ำหรือคลุกดินด้วยเชื้อรา ปฏิปักษ์ในระยะกล้า
          3. การเตรียมแปลงปลูก ไถตากดิน 1-2 สัปดาห์ให้เมล็ดวัชพืชงอกแล้วไถกลบ ใช้พลาสติกที่ไม่ย่อย สลายคลุมแปลงกำจัดวัชพืชในดินที่ต้องการแสงแดด ใช้ปูนโดโลไมท์หรือปูนขาว จากธรรมชาติปรับความเป็น กรดด่างของดิน เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค ขังน้ำให้ท่วมแปลงเพื่อควบคุมโรคแมลงที่อยู่ในดิน ตาก ดินให้แห้งเพื่อกำจัดแมลงในดิน ใส่เชื้อราปฏิปักษ์เช่น เชื้อไตรโคเดอร์ม่าลงในดินป้องกันการระบาดของเชื้อราบางชนิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น