วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ช่องทางและการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพเกษตรอินทรีย์



ความรู้เกี่ยวกับอาชีพ
          อาชีพ (Occupation) หมายถึงการทำกิจกรรม การทำงาน การประกอบการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดผลผลิตและรายได้เป็นงานที่สุจริต ไม่ผิดศีลธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม โดยอาศัยแรงงาน ความรู้ทักษะ อุปกรณ์เครื่องมือ วิธีการแตกต่างกันไป
          อาชีพ เป็นรูปแบบการดำรงชีพในสังคมของมนุษย์ปัจจุบันอาชีพเป็นหน้าที่ของบุคคลในสังคม การที่บุคคลประกอบอาชีพ จะได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือรายได้เพื่อการใช้จ่ายในการดำรงชีวิต



ความสำคัญของอาชีพ
          การมีอาชีพเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในวิถีชีวิตและการดำรงชีพของบุคคล เพราะอาชีพสร้าง รายได้เพื่อเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว อาชีพจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัวดีขึ้น เศรษฐกิจประเทศโดยรวมจะดีตามไปด้วย การสร้างอาชีพก่อให้เกิดตลาดแรงงาน อาชีพก่อให้เกิดผลผลิต และการบริการที่สนองตอบความต้องการของผู้บริโภค อาชีพมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติถือว่า เป็นฟันเฟื่องสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจชุมชน ส่งผลถึงความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ
          อาชีพอาจก่อให้เกิดรายได้ต่าง ๆ กันไป ลักษณะอาชีพที่เป็นลูกจ้างจะได้ค่าตอบแทนในรูปแบบค่าจ้าง หรือเงินเดือน อาชีพค้าขายหรือประกอบกิจการส่วนตัวหรือการลงทุน จะได้ค่าตอบแทนในรูปแบบกำไร อาชีพ ต้องมีความเหมาะสมกับนิสัยใจคอ ความถนัดและความสามารถของแต่ละคน อาชีพเป็นแหล่งที่มาของรายได้ ทุกคนจึงควรเข้าใจเรื่องทรัพย์สินและผลตอบแทนจากอาชีพการงาน ตลอดจนการเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ
องค์ประกอบในการตัดสินใจเลือกอาชีพ การตัดสินใจเลือกอาชีพคือการนำข้อมูลหลายๆด้านที่เกี่ยวกับอาชีพที่จะเลือกมาพิจารณาอย่างถี่ถ้วน รอบคอบเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกประกอบการให้เหมาะสมกับขีดความสามารถของตนเองให้มากที่สุด มีปัญหาอุปสรรคน้อยที่สุดการตัดสินใจเลือกอาชีพมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
            1. ข้อมูลประกอบการตัดสินใจซึ่งพิจารณาข้อมูล 3 ด้าน คือ
                   ก. ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองคือข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพที่ตนเองมีอยู่ เช่น เงินทุน ที่ดิน อาคารสถานที่ แรงงาน เครื่องมือ เครื่องใช้วัสดุอุปกรณ์ความรู้ทักษะต่างๆ ที่จะนำไปใช้ในการ ประกอบอาชีพมีหรือไม่อย่างไร
                   ข. ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและสังคมเช่นผู้ที่มาใช้บริการ (ตลาด) ส่วนแบ่งของตลาด ทำเล การคมนาคม ทรัพยากรที่จะเอื้อที่มีอยู่ในท้องถิ่นแหล่งความรู้ตลอดจนผลที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชน

                   ค. ข้อมูลทางวิชาการ ได้แก่ ความรู้เทคนิคต่างๆที่จำเป็นต่ออาชีพนั้น ๆ เช่น การตรวจสอบ ซ่อมแก้ไข เทคนิคการบริการลูกค้าทักษะงานอาชีพต่าง ๆ เป็นต้น
          2. ความถนัด โดยทั่วไปคนเรามีความถนัดในเชิงช่างแต่ละคนแตกต่างกันไป เช่น ความถนัดใน การทำอาหารถนัดในงานประดิษฐ์ฯลฯ ผู้ที่มีความถนัดจะช่วยทำให้การทำงานนั้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังช่วยให้มองเห็นลู่ทางในการพัฒนาอาชีพนั้น ๆ ให้รุดหน้าได้ดีกว่าคนที่ไม่มีความถนัด
          3. เจตคติต่องานอาชีพเป็นความรู้สึกภายในของแต่ละคนที่มีต่องานอาชีพ ได้แก่ ความรัก ความ ศรัทธา ความภูมิใจฯลฯ ความรู้สึกต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นแรงผลักดันให้คนเกิดความมานะอดทนมุ่งมั่น ขยัน กล้าสู้กล้าออกเสี่ยง ทำให้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพได้
กระบวนการในการเลือกอาชีพการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพมีความสำคัญต่อชีวิตของคนเราเป็นอย่างมาก เพราะเป็นหนทางไปสู่การสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต
กระบวนการตัดสินใจเลือกอาชีพ หมายถึง การนำแนวทางเลือกอาชีพมาพิจารณาอย่างละเอียด รอบคอบ ร่วมกับคุณสมบัติเฉพาะบุคคลและค่านิยมในการประกอบอาชีพของตนเองและของสังคมในปัจจุบัน แล้วจึงดำเนินการตัดสินใจเลือกอาชีพสุจริตได้ถูกต้องเหมาะสมกับตนเองว่าจะก้าวเดินไปในทิศทางใด จึงจะ เหมาะสมกับบุคลิกของตนเองจึงจะประสบความสำเร็จกระบวนการตัดสินใจเลือกอาชีพมีความสำคัญต่อผู้ที่ กำลังจะตัดสินใจเลือกอาชีพ แต่การตัดสินใจที่ดีต้องมีข้อมูลเป็นพื้นฐาน มีการวิเคราะห์ตนเองและวิเคราะห์ อาชีพ ใช้เป็นเหตุผลในการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้การประกอบอาชีพสุจริตมี ความสุขความเจริญก้าวหน้า


ช่องทางและการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพเกษตร
การเกษตรยังคงเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศเนื่องจากขบวนการผลิตสินค้าเกษตรยังมีบทบาทสำคัญ ต่อการใช้และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศนอกจากนั้นภาคการเกษตรยังมี บทบาทต่อเศรษฐกิจส่วนรวมหลายประการ เช่น เป็นอาหารและเป็นวัตถุดิบพื้นฐานของอุตสาหกรรมหลาย ประเภทและมีบทบาทต่อธุรกิจอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการเกษตรตั้งแต่การค้าและการผลิตปัจจัยการผลิตไป จนถึงการค้าและการส่งออกสินค้าเกษตรเป็นต้น
          อาชีพที่มีโอกาสจะได้รับความสนใจจากคนจำนวนมากจะต้องเป็นอาชีพที่สามารถสร้างความพึงพอใจ ในด้านผลตอบแทนและวิถีชีวิตอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง เพื่อให้ได้มาซึ่งความพึงพอใจดังกล่าวปัจจัย ที่จำเป็น ได้แก่ กระบวนการที่มีประสิทธิภาพทั้งในด้านการผลิตและการจัดการเชิงธุรกิจที่เชื่อมโยงกับความ ต้องการของตลาด นอกจากนั้นอาชีพใดที่มีผู้มีความสามารถให้ความสนใจจำนวนมากอาชีพนั้นก็มีโอกาสที่จะ พัฒนาให้ดีขึ้นได้อยู่เสมอซึ่งก็จะมีผลทำให้มีผู้สมัครใจเลือกอาชีพนั้นๆเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกันไปอุปสรรคสำคัญ ประการหนึ่งที่ทำให้ผลตอบแทนด้านรายได้จากอาชีพเกษตรสู้อาชีพอื่น ๆ ไม่ได้คือระดับราคาสินค้าเกษตรซึ่ง มีระดับต่ำและมีความไม่แน่นอนสูง ด้วยเหตุนี้นโยบายราคาจึงเป็นแนวความคิดหลักที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกัน มาโดยตลอดผลของนโยบายราคาที่สำคัญได้แก่การปรับตัวของปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกับผลตอบแทน เช่น ถ้าเกษตรกรได้ราคาสูงจากสินค้าเกษตรประเภทใดก็มีผลต่อปริมาณการผลิตของสินค้านั้น ผู้สนใจเลือก อาชีพการเกษตร ในอนาคตนั้นนอกจากจะมาจากครอบครัวเกษตรกรที่สมัครใจยึดอาชีพนี้แล้ว ยังอาจจะมา จากบุคคลอาชีพอื่นที่สมัครใจเข้ามาเป็นเกษตรกร ในขณะที่บุคคลในครัวเรือนเกษตรที่ไม่พอใจจะสืบเนื่อง อาชีพการเกษตรก็จะตัดสินใจออกจากภาคการเกษตรไป การตัดสินใจดังกล่าวข้างต้นจะส่งผลกระทบอย่าง กว้างขวาง เช่น ถ้าครอบครัวเกษตรกรใด ไม่มีผู้สมัครใจที่จะดำเนินอาชีพการเกษตรต่อไป การใช้พื้นที่ การเกษตรของครอบครัวนั้น ๆ ก็จะยุติลง โดยเปลี่ยนสภาพเกษตรของครอบครัวเป็นที่ดินให้เช่าหรือขาย ออกไป
          เมื่อพิจารณาจากความสนใจในการประกอบอาชีพการเกษตร รูปแบบในการทำการเกษตรมีแนวโน้ม จะค่อย ๆ เปลี่ยนไปและในที่สุดจะประกอบด้วยรูปแบบการเกษตรหลัก
3 รูปแบบ คือ
          - รูปแบบแรก ได้แก่ เกษตรแบบครัวเรือน ซึ่งอาศัยแรงงานในครัวเรือนเป็นสำคัญ ดังนั้น เนื้อที่การเกษตรสำหรับรูปแบบนี้จึงมักจะ มีขนาดเล็ก เพื่อให้อยู่ในวิสัยที่แรงงานในครอบครัวจะจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ การมีพื้นที่ขนาดเล็กและมี แรงงานน้อยมีผลทำให้จำเป็นที่จะต้องมีรูปแบบการเกษตรซึ่งใช้พื้นที่ได้ตลอดทั้งปีเช่น เกษตรทฤษฎีใหม่ตาม แนวพระราชดำริระบบเกษตรหรือเกษตรผสมผสานเพื่อให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ในระดับต่ำในขณะที่มี รายได้ทยอยเข้ามาทั้งปีและสามารถจัดการบริหารให้เชื่อมโยงกับความต้องการของตลาดได้ในลักษณะเป็นกลุ่ม หรือชุมชนในขณะที่เกษตรกรสามารถดำรงวิถีชีวิตได้แบบเรียบง่ายและมีอิสระ
          - รูปแบบที่สอง ได้แก่ เกษตร ขนาดใหญ่ ซึ่งต้องอาศัยทุนเครื่องจักรและแรงงานนอกครัวเรือน ตลอดจนพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถ บริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพในอดีตเกษตรขนาดใหญ่เหล่านี้ต้องพึ่งพาพื้นที่ในเขตป่าแต่ในปัจจุบัน เขตป่าที่อุดมสมบูรณ์มีเหลือน้อยและไม่สมควรที่จะนำมาใช้ในทางการเกษตรเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นเกษตรขนาด ใหญ่ จึงต้องมีการลงทุนเพื่อซื้อที่ดินจากครัวเรือนเกษตรซึ่งไม่สามารถหรือไม่ต้องการดำรงอาชีพเกษตรอีก ต่อไป นอกจากการลงทุนแล้วระบบการบริหารจัดการสำหรับเกษตรประเภทนี้จะเป็นการดำเนินการ เชิงพาณิชย์สำหรับสินค้าที่ผลิตภายใต้เกษตรขนาดใหญ่ มักจะเป็นการผลิตผลผลิตประเภทเดียวซึ่งอาจมหรือไม่มีความสัมพันธ์กับโรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่องก็ได้ แต่มักจะมีตลาดขนาดใหญ่ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ได้แก่ อ้อยยางปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
          - รูปแบบที่สาม ได้แก่ เกษตรก้าวหน้าซึ่งผู้ประกอบการอาจจะมาจาก ครอบครัวเกษตรกรหรือจากภาคนอกการเกษตรก็ได้รูปแบบการเกษตรก้าวหน้านี้อาศัยความรู้เป็นหลักทั้งใน ด้านเทคโนโลยีการเกษตรการจัดการเกษตรและการจัดการเชื่อมโยงกับตลาดขนาดของการเกษตรประเภทนี้จะ ไม่เล็กนัก แต่ก็มักจะมีขนาดไม่ใหญ่เกินไปเนื่องจากเกษตรกรประเภทนี้มักจะเป็นเกษตรกรเต็มเวลาข้อเด่น ของเกษตรกรก้าวหน้าคือการอาศัยความรู้ทั้งทางด้านการตลาดและด้านการเกษตรและมีความสามารถในการ บริหารจัดการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สามารถรักษาระดับรายได้ใน ระดับใกล้เคียงหรือมากกว่าอาชีพนอกการเกษตรทั่วไป ในบรรดารูปแบบการเกษตรทั้ง
3 ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ชัดเจนว่าไม่ว่าจะทำการเกษตรในรูปแบบใด สิ่งที่จำเป็น ได้แก่ ความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรที่ เหมาะสมกับวิถีการเกษตรแต่ละประเภท โดยแยกออกตามขนาดของพื้นที่และจำนวนแรงงานเทคโนโลยีที่ เหมาะสมเหล่านี้จะต้องมีการวิจัยและพัฒนาต่อเนื่องกันไปเพื่อให้ได้รูปแบบที่หลากหลาย สำหรับวิถี การเกษตรแต่ละประเภทจะได้เลือกให้เหมาะสมแก่ตนเองมากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น