วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

หลักการเกษตรอินทรีย์


หลักการเกษตรอินทรีย์ หลักการสำคัญ 4 ประการของเกษตรอินทรีย์คือสุขภาพ, นิเวศวิทยา, ความเป็นธรรม และการดูแล เอาใจใส่ (health, ecology, fairness and care)


1. มิติด้านสุขภาพเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องส่งเสริมและสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพอย่างเป็นองค์ รวมของดินพืชสัตว์มนุษย์และโลก สุขภาวะของสิ่งมีชีวิตแต่ละปัจเจกและของชุมชนเป็นหนึ่งเดียวกัน กับสุขภาวะของระบบนิเวศการ ที่ผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์จะทำให้พืชพรรณต่าง ๆ แข็งแรงมีสุขภาวะที่ดีส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงและมนุษย์ที่ อาศัยพืชพรรณเหล่านั้นเป็นอาหาร สุขภาวะเป็นองค์รวมและเป็นปัจจัยที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตการมีสุขภาวะที่ดีไม่ใช่การปราศจาก โรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึงภาวะแห่งความเป็นอยู่ที่ดีของกายภาพจิตใจสังคมและสภาพแวดล้อมโดยรวม ความแข็งแรงภูมิต้านทานและความสามารถในการฟื้นตัวเองจากความเสื่อมถอยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสุขภาวะที่ดี บทบาทของเกษตรอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตในไร่นา การแปรรูป การกระจายผลผลิตหรือ การบริโภค ต่างก็มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตทั้งปวง ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตที่มี ขนาดเล็กสุดในดินจนถึงตัวมนุษย์เราเอง เกษตรอินทรีย์จึงมุ่งที่จะผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูงและมีคุณค่าทาง โภชนาการเพื่อสนับสนุนให้มนุษย์ได้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้เกษตรอินทรีย์จึงเลือกที่จะปฏิเสธการใช้ ปุ๋ยเคมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เวชภัณฑ์สัตว์และสารปรุงแต่งอาหารที่อาจมีอันตรายต่อสุขภาพ
2. มิติด้านนิเวศวิทยาเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของระบบนิเวศวิทยาและวัฎจักรแห่ง ธรรมชาติการผลิตการเกษตรจะต้องสอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ และช่วยทำให้ระบบและวัฎจักรธรรมชาติ เพิ่มพูนและยั่งยืนมากขึ้น
หลักการเกษตรอินทรีย์ในเรื่องนี้ ตั้งอยู่บนกระบวนทัศน์ที่มองเกษตรอินทรีย์ ในฐานะ องค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศที่มีชีวิต ดังนั้นการผลิตการเกษตรจึงต้องพึ่งพาอาศัยกระบวนการทาง นิเวศวิทยาและวงจรของธรรมชาติโดยการเรียนรู้และสร้างระบบนิเวศให้เหมาะสมกับการผลิตแต่ละชนิด ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของการปลูกพืชเกษตรกรจะต้องปรับปรุงดินให้มีชีวิตหรือในการเลี้ยงสัตว์เกษตรกร จะต้องใส่ใจกับระบบนิเวศโดยรวมของฟาร์มหรือในการเพาะเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรต้องใส่ใจกับระบบนิเวศของ บ่อเลี้ยงการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์หรือแม้แต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่าจะต้องสอดคล้องกับวัฏจักรและสมดุล ทางธรรมชาติแม้ว่าวัฏจักรธรรมชาติจะเป็นสากล แต่อาจจะมีลักษณะเฉพาะท้องถิ่นนิเวศได้ ดังนั้นการจัด การเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขท้องถิ่นภูมินิเวศวัฒนธรรม และเหมาะสมกับขนาดของ ฟาร์มเกษตรกรควรใช้ปัจจัยการผลิตและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการใช้ซ้ำการหมุนเวียนเพื่อที่จะ อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ควรสร้างสมดุลของนิเวศการเกษตร โดยการออกแบบระบบการทำฟาร์ม ที่เหมาะสมการฟื้นฟูระบบนิเวศท้องถิ่นและการสร้างความหลากหลายทั้งทางพันธุกรรมและกิจกรรมทางการ เกษตรผู้คนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตการแปรรูปการค้าและการบริโภคผลผลิตเกษตรอินทรีย์ควรช่วยกัน ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งในแง่ของภูมินิเวศสภาพบรรยากาศนิเวศท้องถิ่นความหลากหลายทางชีวภาพ อากาศและน้ำ
3. มิติด้านความเป็นธรรมเกษตรอินทรีย์ควรจะตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่มีความเป็นธรรมระหว่าง สิ่งแวดล้อมโดยรวมและสิ่งมีชีวิต
ความเป็นธรรมนี้รวมถึงความเท่าเทียมการเคารพความยุติธรรมและการมีส่วนในการปกปักพิทักษ์ โลกที่เราอาศัยอยู่ทั้งในระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองและระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
ในหลักการด้านนี้ความสัมพันธ์ของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและการจัดการผลผลิต เกษตรอินทรีย์ในทุกระดับ ควรมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นธรรม ทั้งเกษตรกรคนงานผู้แปรรูปผู้จัดจำหน่ายผู้ค้า และผู้บริโภคทุกคนควรได้รับโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีส่วนช่วยในการรักษาอธิปไตยทางอาหาร และช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนเกษตรอินทรีย์ควรมีเป้าหมายในการผลิตอาหารและผลผลิตการเกษตรอื่น ๆ ที่เพียงพอและมีคุณภาพที่ดี ในหลักการข้อนี้หมายรวมถึงการปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดสภาพ การเลี้ยงให้สอดคล้องกับลักษณะและความต้องการทางธรรมชาติของสัตว์รวมทั้งดูแลเอาใจใส่ความเป็นอยู่ของ สัตว์อย่างเหมาะสม
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่นำมาใช้ในการผลิตและการบริโภคควรจะต้องดำเนินการ อย่างเป็นธรรมทั้งทางสังคมและทางนิเวศวิทยารวมทั้งต้องมีการอนุรักษ์ปกป้องให้กับอนุชนรุ่นหลังความเป็น ธรรมนี้จะรวมถึงว่าระบบการผลิตการจำหน่ายและการค้าผลผลิตเกษตรอินทรีย์จะต้องโปร่งใสมีความเป็นธรรม และมีการนำต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมาพิจารณาเป็นต้นทุนการผลิตด้วย
4. มิติด้านการดูแลเอาใจใส่การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง และรับผิดชอบเพื่อปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งในปัจจุบันและอนาคตรวมทั้งพิทักษ์ปกป้อง สภาพแวดล้อมโดยรวมด้วย

การทำการเกษตรแบบอินทรีย์
ผู้ที่จะประกอบอาชีพเกษตรอินทรีย์ควรใส่ใจในรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1. การปรับปรุงดินให้ความสมบูรณ์ ไม่ผิดนักถ้าจะกล่าวว่า หลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของเกษตรอินทรีย์ก็คือ การจัดการดินให้มีความ อุดมสมบูรณ์และสมดุล ทั้งนี้เพราะเกษตรอินทรีย์ถือว่า ถ้าดินดีพืชย่อมแข็งแรงและสมบูรณ์ซึ่งการปรับปรุงดินในแนวทางเกษตรอินทรีย์นี้จะใช้แนวทางชีวภาพเป็นหลัก ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อการฟื้นฟูบำรุงดินและปรับปรุงสมดุลของธาตุอาหารในดินไปพร้อมกัน ในการปรับปรุงดินด้วยชีววิธีนี้มีหลายวิธีอาทิการ จัดการอินทรียวัตถุในไร่นา (เช่น การไม่เผาฟาง), การจัดการใช้ที่ดินอย่างอนุรักษ์ (เช่น การป้องกันดินเค็ม หรือ การป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน) หรือการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ประเภทต่างๆ เช่น ปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก, ปุ๋ยพืช สด และปุ๋ยชีวภาพความสำคัญของดินต่อการเกษตรเป็นเรื่องที่ตระหนักรับรู้กันมานาน ภูมิปัญญาพื้นบ้านมี วิธีการในการจำแนกและวิเคราะห์ดิน ตลอดจนการคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตรแต่ละ ประเภท ความสำคัญของดินต่อการเพาะปลูกนั้นไม่เพียงเพราะว่า ดินเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรธาตุอาหารพืช โดยเฉพาะไนโตรเจนและคาร์บอน แต่ยังรวมถึงการที่ดินเป็นแหล่งกำเนิดและที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตมากมาย มหาศาลตลอดจนปัญหาความไม่ยั่งยืนของการเกษตรมีสาเหตุมาจากความเสื่อมโทรมของดินเป็นสำคัญ ดังนั้น การจัดการดินอย่างถูกต้องจึงเป็นหัวใจของเกษตรอินทรีย์
2. การปลูกพืชหลายชนิด เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในไร่นา ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชได้เนื่องจาก การปลูกพืชหลายชนิดจะทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีแหล่งอาหารที่หลากหลายของแมลงจึงมีแมลง หลายชนิดมาอาศัยอยู่ร่วมกันในจำนวนแมลงเหล่านี้จะมีทั้งแมลงที่เป็นศัตรูพืชและแมลงที่เป็นประโยชน์ที่จะช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชให้คล้ายคลึงกับธรรมชาติในป่าที่อุดมสมบูรณ์นั่นเองมีหลายวิธีได้แก่ ปลูกดาวเรือง เพื่อไล่ไส้เดือนในดิน ปลูกผักหลายชนิดเป็นต้น โดยมีข้อปฏิบัติดังนี้
      1) การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นการไม่ปลูกพืชชนิดเดียวกันหรือตระกูลเดียวกัน ติดต่อกันบนพื้นที่ เดิม การปลูกพืชหมุนเวียนจะช่วยหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคและแมลงและเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงดิน
      2) การปลูกพืชแซม การเลือกพืชมาปลูกร่วมกันหรือแซมกันนั้นพืชที่เลือกมานั้นต้องเกื้อกูลกัน เช่น ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้อีกชนิดหนึ่ง ช่วยคลุมดิน ช่วยเพิ่มรายได้ก่อนเก็บเกี่ยวพืช หลักเป็นต้น
3. การอนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์
คือการใช้ประโยชน์จากแมลงศัตรูธรรมชาติเพื่อช่วยในการทำการเกษตร ได้แก่
1) ตัวเบียน (parasite) ส่วนใหญ่หมายถึง แมลงเบียน (parasitic insects) ที่อาศัยแมลงศัตรูพืช เพื่อกาดำและการสืบพันธุ์ซึ่งทำให้แมลงศัตรูพืชตายในระหว่างการเจริญเติบโต
2) ตัวห้ำ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตโดยการกินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารเพื่อการเจริญเติบโตจน ครบวงจรชีวิต ตัวห้ำพวกนี้ได้แก่สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังได้แก่สัตว์ปีก เช่น นก สัตว์เลื้อยคลาย เช่น งูกิ้งก่าสัตว์ ครึ่งบกครึ่งห้ำ เช่น กบ ตัวห้ำส่วนใหญ่ที่มีความสำคัญในการควบคุมแมลงและไรศัตรูพืช ได้แก่สัตว์ไม่มีกระดูก สันหลัง เช่น แมงมุม ไรตัวห้ำ และตัวห้ำส่วนใหญ่ได้แก่แมลงห้ำ (predatory insects) ซึ่งมีมากชนิดและมีการ ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว
3) เชื้อโรค ส่วนใหญ่หมายถึงจุลินทรีย์ที่ทำให้แมลงศัตรูพืชเป็นโรคตาย เช่น เชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา โปรโตซัว ไส้เดือนฝอยทำลายแมลงศัตรูพืช

เกษตรอินทรีย์เป็นระบบที่มีพลวัตรและมีชีวิตในตัวเองซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัย ภายในและภายนอกผู้ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ควรดำเนินกิจการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่ม ผลผลิตในการผลิตแต่ในขณะเดียวกันจะต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ จะต้องมีการประเมินผลกระทบอย่างจริงจังและแม้แต่เทคโนโลยีที่มีการใช้อยู่แล้ว ก็ควรจะต้องมีการทบทวนและประเมินผลกันอยู่เนือง ๆ ทั้งนี้เพราะมนุษย์เรายังไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจอย่าง ดีพอเกี่ยวกับระบบนิเวศการเกษตรที่มีความสลับซับซ้อน ดังนั้นเราจึงต้องดำเนินการต่าง ๆ ด้วยความ ระมัดระวังเอาใจใส่ ในหลักการนี้การดำเนินการอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบเป็นหัวใจสำคัญของการ บริหารจัดการการพัฒนาและการคัดเลือกเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในเกษตรอินทรีย์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นใจว่าเกษตรอินทรีย์นั้น ปลอดภัยและเหมาะกับสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ประสบการณ์จากการปฏิบัติและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สะสมถ่ายทอดกันมา ก็อาจมีบทบาทในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้เช่นกัน เกษตรกรและ ผู้ประกอบการควรมีการประเมินความเสี่ยงและเตรียมการป้องกันจากนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้และควร ปฏิเสธเทคโนโลยีที่มีความแปรปรวนมาก เช่น เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมการตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีต่าง ๆ จะต้องพิจารณาถึงความจำเป็นและระบบคุณค่าของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ที่อาจได้รับผลกระทบและ จะต้องมีการปรึกษาหารืออย่างโปร่งใสและมีส่วนร่วม

1 ความคิดเห็น:

  1. https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fyoutu.be%2F50s-9KFhWVA&h=ATPjWAdYgHUIv3zjKajey7HWUWZpVrN5UnesNjYp8vfY95RnapOzrVOruMuzkCTpBf6wDCncQEA6g5jvURtDVt51-mx1dR9vhaeu46bqI_PxLkKDpaT6O0NpFHWWuA6A187c&s=1

    ตอบลบ