การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมายถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างฉลาดโดยใช้ให้น้อยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนานและก่อให้เกิดผล
เสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดรวมทั้งต้องมีการกระจายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างทั่วถึงอย่างไรก็ตามใน
สภาพปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมมากขึ้นดังนั้นการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีความหมายรวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วยการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถกระทำได้หลายวิธีทั้งทางตรงและทางอ้อมดังนี้
หลักการเกษตรอินทรีย์ ประถมศึกษา
วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559
การปลูกพืชเกษตรอินทรีย์และการดูแลรักษา
การปลูกพืชเกษตรอินทรีย์
การปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ควรดำเนินการเลือกพื้นที่เหมาะสม
โดยอยู่ห่างโรงงาน ห่างแปลงปลูกที่ใช้ สารเคมีมีแหล่งน้ำสะอาดไม่มีสารพิษเจือปนทั้งนี้ต้องศึกษาประวัติพื้นที่
เช่น เคยปลูกพืชอะไร การใช้ปุ๋ยและ สารเคมีย้อนหลังอย่างน้อย 3
ปีจากนั้นเลือกปลูกพืชให้เหมาะกับดิน
โดยให้พิจารณาว่าดินมีทั้งดินร่วน ดิน เหนียว หน้าตื้น หน้าดินลึก ดินเป็นกรด
ดินเป็นด่าง ดินเค็ม เป็นต้น จึงควรพิจารณาเลือกปลูกพืชที่ขึ้นอยู่เดิม และให้เก็บตัวอย่างดิน
น้ำไปทำการวิเคราะห์
ธรรมชาติของดิน
ความหมายของดิน
ดินในทางด้านการเกษตรหมายถึงวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากแร่ธาตุต่าง ๆ และอินทรียวัตถุ ที่สลายตัวหรือเน่าเปื่อยผุพังเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยผสมกันและรวมตัวกันเป็นชั้น ๆ ห่อหุ้มผิวโลก เมื่อมีน้ำและ อากาศผสมอยู่ในอัตราส่วนที่เหมาะสมแล้ววัตถุที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะช่วยทำให้พืชเจริญเติบโตและยังชีพได้
การเจริญเติบโตของพืช
การเจริญเติบโต
หมายถึงการเพิ่มจำนวนของเซลล์การขยายขนาดจำนวนของเซลล์มีการ เปลี่ยนแปลงลักษณะของโครงสร้าง
จากโครงสร้างหนึ่งไปเป็นอีกโครงสร้างหนึ่ง เช่นการเจริญเติบโตทางลำต้น หรือใบไปเป็นดอก
ดอกเกิดเป็นผลเป็นต้น
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เป็นเกณฑ์ข้อกำหนดขั้นต่ำที่เกษตรกรผู้ผลิตจะต้องปฏิบัติตาม
และหน่วยงาน รับรองจะใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจประเมินการผลิตและตัดสินใจในการรับรองฟาร์มที่ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์
มาตรฐานนั้น ๆปกติในการกำหนดมาตรฐานโดยส่วนใหญ่
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์กลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นเกษตรกรผู้ผลิต
ผู้ประกอบการ ผู้ค้า ผู้บริโภค รวมทั้งนักสิ่งแวดล้อม และนักวิชาการด้านต่าง ๆ
จะมี ส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็นและตัดสินใจในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในแต่ละข้อ
ความคาดหวังหรือการ ให้คุณค่ากับการปฏิบัติเกษตรอินทรีย์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละส่วนจะถูกตรวจสอบ
และยอมรับหรือปฏิเสธ โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ
โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ประกอบการ เพราะผู้ผลิตและผู้ประกอบการจะ เป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดเหล่านั้น
ดังนั้น มาตรฐานจึงเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นกระบวนการแปล ความคาดหวังและคุณค่าของเกษตรอินทรีย์ให้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ
นอกจากนี้ในกระบวนการตัดสินใจ กำหนดมาตรฐานนั้น จะต้องมีการสร้างฉันทามติ (consensus
building) เพื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดยอมรับ ดังนั้น
ข้อตกลงในมาตรฐานจึงเปรียบเหมือนเป็น “สัญญาประชาคม” ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด นอกจากนี้ สัญญาประชาคมนี้ได้มีการกำหนดรายละเอียดกระบวนการผลิตไว้อย่างค่อนข้างชัดเจน
ทำให้มาตรฐานเกษตร อินทรีย์มีสถานะเสมือนหนึ่งเป็น “คำนิยาม”
ของเกษตรอินทรีย์ไปพร้อมกันด้วย
หลักการเกษตรอินทรีย์
หลักการเกษตรอินทรีย์
หลักการสำคัญ 4 ประการของเกษตรอินทรีย์คือสุขภาพ,
นิเวศวิทยา, ความเป็นธรรม และการดูแล เอาใจใส่
(health, ecology, fairness and care)
ความหมายและความสำคัญของการเกษตรอินทรีย์
ความหมายของเกษตรอินทรีย์
มีหลายคน หลายองค์กรที่ได้ให้คำนิยาม หรือความหมายของเกษตรอินทรีย์เช่น องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ
ได้ให้ความหมายของเกษตรอินทรีย์ว่า “เป็นระบบเกษตรที่
ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช วัชพืช
หรือในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ตลอดจนไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปรับปรุงบำรุงดิน
แต่ให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและ มาตรฐานทางชีวภาพ
โดยใช้ซากพืช ปุ๋ยพืชสด หรือมูลสัตว์ในการปรับปรุง
นอกเหนือจากนี้ยังห้ามใช้พืชหรือ เมล็ดพันธุ์ที่มีการตัดต่อยีน
และห้ามใช้จุลลินทรีย์ที่มีการตัดต่อยีนในกระบวนการหมักปุ๋ยชีวภาพ”
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)